วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สาระสำคัญ
รูปแบบการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก เครื่องหมายในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ประเภทของคำสั่งในภาษาเบสิก
จุดประสงค์ปลายทาง
เข้าใจรูปแบบ ประเภทคำสั่งและเครื่องหมายที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมได้

จุดประสงค์นำทาง
1. อธิบายรูปแบบของคำสั่งในการเขียนโปรแกรมได้
2. อธิบายวิธีการและคำสั่งการเขียนโปรแกรมได้
3. นักเรียนสามารถเลือกใช้คำสั่งในการเขียนโปรแกรมได้ถูกต้อง

เนื้อหา
โปรแกรมภาษาเบสิก จัดเป็นภาษาโปรแกรมระดับสูง แต่เป็นภาษาที่มีเทคนิควิธีการและรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายไม่ซับซ้อน จึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม ซึ่งองค์ประกอบในการเขียนโปรแกรมจะประกอบด้วย
1. ค่าคงที่ (Constants)
2. ตัวแปร (Variable)
3. นิพจน์ (Expression)
แต่องค์ประกอบของโปรแกรมที่สำคัญยังต้องประกอบไปด้วย รูปแบบในการเขียนโปรแกรมและคำสั่ง เฉพาะสำหรับการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา ซึ่งรูปแบบและคำสั่งของโปรแกรมภาษาเบสิกก็จะมีรูปแบบเฉพาะเป็นของตนเองเช่นกัน

รูปแบบการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก
การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกจะมีรูปแบบเป็นของตนเอง ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างง่ายต่อการเข้าใจ เนื่องจากลักษณะการใช้ตัวอักษรและอักขระที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจการทำงานของโปรแกรมได้ รูปแบบการเขียนได้แก่
1. การเขียนโปรแกรมแบบมีหมายเลขบรรทัด (Line Number) ใช้หมายเลขสำหรับกำหนดลำดับของคำสั่ง โดยใช้หมายเลขกำกับหน้าคำสั่งในแต่ละบรรทัด เช่น

10 LET A = 10
20 LET B = 5
30 LET C = A+B

2. สำหรับการพิมพ์บรรทัด จะพิมพ์บรรทัดใดก่อนก็ได้ เครื่องจะทำงานเรียงหมายเลขบรรทัดจากน้อยไปหาหมายเลขบรรทัดมาก ในกรณีหมายเลขซ้ำกันโปรแกรมจะถือเอาคำสั่งในหมายเลขที่พิมพ์หลังสุด
3. การทำงานของโปรแกรมจะทำงานตามหมายเลขบรรทัด โดยจะทำงานจากหมายเลขบรรทัดน้อยไปหามาก
4. กรณีที่กำหนดหมายเลขบรรทัดในโปรแกรม จะต้องกำหนดหมายเลขให้มีระยะห่างกันพอสมควรเพื่อที่จะแทรกหมายเลขเพิ่มเติม
5. การเขียนโปรแกรมจะกำหนดให้เป็นตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ก็ได้ ซึ่งโปรแกรมจะเปลี่ยนให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่โดยอัตโนมัติ
6. การทำงานของคำสั่งโปรแกรมจะทำจากซ้ายไปขวา
7. การเขียนโปรแกรมสามารถรวมคำสั่งหลายคำสั่งเอาไว้บรรทัดเดียวกันได้ โดยการใช้เครื่องหมาย (;)

เครื่องหมายในการเขียนโปรแกรม
1. เครื่องหมายโคลอน (Colon) เป็นเครื่องหมายสำหรับการเชื่อมคำสั่งซึ่งเราได้ทำหลาย ๆ คำสั่งต่อกัน
2. เครื่องหมายจุลภาคหรือคอมมา (Comma “,”) ในกรณีคำสั่ง PRINT เป็นการสั่งแบ่งระยะโดยจะทำให้ระยะระหว่างข้อมูลที่จะแสดงผลที่จอภาพถูกจัดแบ่งเป็นระยะเท่า ๆ กัน
3. เครื่องหมายอัฒภาค หรือ เซมิโคลอน (Semicolon “;”) เมื่อแสดงผลที่จอภาพข้อมูลจะถูกพิมพ์ต่อเนื่องกัน

ประเภทคำสั่งในภาษาเบสิก
1. คำสั่งสำหรับรับและส่งข้อมูล
คือ กลุ่มคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อรับข้อมูลเข้าไปทำการประมวลผลในโปรแกรมและกลุ่มคำสั่งที่สั่งให้โปรแกรมแสดงผลที่อุปกรณ์ประกอบคำสั่งเหล่านี้ได้แก่
1.1 คำสั่ง INPUT เป็นคำสั่งที่รับข้อมูลโดยการป้อนผ่านแป้นพิมพ์ เพื่อให้โปรแกรมรับทราบว่าใส่ข้อมูลใด เมื่อเวลาแสดงผลจะแสดงเครื่องหมายคำถาม เพื่อป้อนข้อมูลที่ต้องการต่อท้ายเครื่องหมายคำถาม
1.2 คำสั่ง PRINT เป็นคำสั่งในภาษาเบสิก เพื่อแสดงผลของข้อมูลที่โปรแกรมสั่งให้ทำงานออกทางจอภาพ
1.3 คำสั่ง LPRINT เป็นคำสั่งในภาษาเบสิก ที่แสดงผลของข้อมูลที่โปรแกรมสั่งออกทางเครื่องพิมพ์

2. คำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดค่าให้กับตัวแปรและการตั้งสมการคำนวณ
2.1 คำสั่ง LET เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดค่าคงที่ให้กับ ไม่ว่าเป็นตัวแปรแบบอักขระหรือตัวแปรแบบตัวเลข และใช้ตั้งสมการทางคณิตศาสตร์
3. คำสั่งในการคำนวณ
ลักษณะของคำสั่งประเภทนี้จะอยู่ในรูปของเครื่องหมาย แสดงแทนเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ จะใช้ประกอบกับคำสั่งประเภทอื่น ๆ

4. คำสั่งสำหรับการควบคุม

ลักษณะของคำสั่งในการควบคุม เป็นการสั่งในแบบกำหนดเงื่อนไข และแบบไม่มีเงื่อนไขรวมถึงคำสั่งควบคุมการวนซ้ำ
4.1 คำสั่งแบบมีเงื่อนไข ได้แก่ IF/THEN/ELSE DO..LOOP WHILE..WEND
4.2 คำสั่งแบบไม่มีเงื่อนไข ได้แก่ GO,GOSUB1.3 คำสั่งควบคุมการวนซ้ำ คือ คำสั่งที่ควบคุมการกระทำซ้ำ ได้แก่ FOR/NEXT
5. คำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบ
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดการวางรูปแบบของการแสดงผลโปรแกรม บางครั้งก็จะอยู่ในรูปเครื่องหมาย ใช้ร่วมกับคำสั่งทั่วไป
6. คำสั่งฟังก์ชัน
เป็นกลุ่มคำสั่งประเภทหนุ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ โดยคำสั่งประเภทนี้จะมีค่าฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
7. คำสั่งทั่วไป
NEW เป็นคำสั่งลบโปรแกรมและค่าตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำ โดยจะลบหล้าจอทั้งหมดก่อนที่จะเขียนโปรแกรมใหม่
REM เป็นคำสั่งที่ใช้ในการหมายเหตุ
END เป็นคำสั่งให้หยุดการทำงานของโปรแกรม
CLS เป็นคำสั่งให้ลบหน้าจอใหม่ โดยไม่แสดงผลเดิม


กิจกรรมประกอบการเรียน

1. ให้นักเรียนศึกษารวบรวมคำสั่งประเภทต่าง ๆ สำหรับโปรแกรม BASIC ตั้งแต่ A – Z โดยดูจากเมนูหลัก HELP ในเมนูย่อย CONTENT จากนั้นบอกว่าเป็นคำสั่งในกลุ่มใด ได้แก่
1.1 STATEMENT
1.2 FUNCTION
1.3 KEYWORD
1.4 OPERATION
1.5 MATACOMMAND
2. ให้นักเรียนแยกประเภทของคำสั่งเฉพาะกลุ่มที่เป็น FUNCTION และกลุ่มที่เป็น STATEMENT
3. ให้นักเรียนเข้าไปยัง HELP ของ BASIC เข้าไปยัง CONTENT จากนั้นเลื่อน CURSOR