วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สาระสำคัญ
รูปแบบการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก เครื่องหมายในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ประเภทของคำสั่งในภาษาเบสิก
จุดประสงค์ปลายทาง
เข้าใจรูปแบบ ประเภทคำสั่งและเครื่องหมายที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมได้

จุดประสงค์นำทาง
1. อธิบายรูปแบบของคำสั่งในการเขียนโปรแกรมได้
2. อธิบายวิธีการและคำสั่งการเขียนโปรแกรมได้
3. นักเรียนสามารถเลือกใช้คำสั่งในการเขียนโปรแกรมได้ถูกต้อง

เนื้อหา
โปรแกรมภาษาเบสิก จัดเป็นภาษาโปรแกรมระดับสูง แต่เป็นภาษาที่มีเทคนิควิธีการและรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายไม่ซับซ้อน จึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม ซึ่งองค์ประกอบในการเขียนโปรแกรมจะประกอบด้วย
1. ค่าคงที่ (Constants)
2. ตัวแปร (Variable)
3. นิพจน์ (Expression)
แต่องค์ประกอบของโปรแกรมที่สำคัญยังต้องประกอบไปด้วย รูปแบบในการเขียนโปรแกรมและคำสั่ง เฉพาะสำหรับการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา ซึ่งรูปแบบและคำสั่งของโปรแกรมภาษาเบสิกก็จะมีรูปแบบเฉพาะเป็นของตนเองเช่นกัน

รูปแบบการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก
การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกจะมีรูปแบบเป็นของตนเอง ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างง่ายต่อการเข้าใจ เนื่องจากลักษณะการใช้ตัวอักษรและอักขระที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจการทำงานของโปรแกรมได้ รูปแบบการเขียนได้แก่
1. การเขียนโปรแกรมแบบมีหมายเลขบรรทัด (Line Number) ใช้หมายเลขสำหรับกำหนดลำดับของคำสั่ง โดยใช้หมายเลขกำกับหน้าคำสั่งในแต่ละบรรทัด เช่น

10 LET A = 10
20 LET B = 5
30 LET C = A+B

2. สำหรับการพิมพ์บรรทัด จะพิมพ์บรรทัดใดก่อนก็ได้ เครื่องจะทำงานเรียงหมายเลขบรรทัดจากน้อยไปหาหมายเลขบรรทัดมาก ในกรณีหมายเลขซ้ำกันโปรแกรมจะถือเอาคำสั่งในหมายเลขที่พิมพ์หลังสุด
3. การทำงานของโปรแกรมจะทำงานตามหมายเลขบรรทัด โดยจะทำงานจากหมายเลขบรรทัดน้อยไปหามาก
4. กรณีที่กำหนดหมายเลขบรรทัดในโปรแกรม จะต้องกำหนดหมายเลขให้มีระยะห่างกันพอสมควรเพื่อที่จะแทรกหมายเลขเพิ่มเติม
5. การเขียนโปรแกรมจะกำหนดให้เป็นตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ก็ได้ ซึ่งโปรแกรมจะเปลี่ยนให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่โดยอัตโนมัติ
6. การทำงานของคำสั่งโปรแกรมจะทำจากซ้ายไปขวา
7. การเขียนโปรแกรมสามารถรวมคำสั่งหลายคำสั่งเอาไว้บรรทัดเดียวกันได้ โดยการใช้เครื่องหมาย (;)

เครื่องหมายในการเขียนโปรแกรม
1. เครื่องหมายโคลอน (Colon) เป็นเครื่องหมายสำหรับการเชื่อมคำสั่งซึ่งเราได้ทำหลาย ๆ คำสั่งต่อกัน
2. เครื่องหมายจุลภาคหรือคอมมา (Comma “,”) ในกรณีคำสั่ง PRINT เป็นการสั่งแบ่งระยะโดยจะทำให้ระยะระหว่างข้อมูลที่จะแสดงผลที่จอภาพถูกจัดแบ่งเป็นระยะเท่า ๆ กัน
3. เครื่องหมายอัฒภาค หรือ เซมิโคลอน (Semicolon “;”) เมื่อแสดงผลที่จอภาพข้อมูลจะถูกพิมพ์ต่อเนื่องกัน

ประเภทคำสั่งในภาษาเบสิก
1. คำสั่งสำหรับรับและส่งข้อมูล
คือ กลุ่มคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อรับข้อมูลเข้าไปทำการประมวลผลในโปรแกรมและกลุ่มคำสั่งที่สั่งให้โปรแกรมแสดงผลที่อุปกรณ์ประกอบคำสั่งเหล่านี้ได้แก่
1.1 คำสั่ง INPUT เป็นคำสั่งที่รับข้อมูลโดยการป้อนผ่านแป้นพิมพ์ เพื่อให้โปรแกรมรับทราบว่าใส่ข้อมูลใด เมื่อเวลาแสดงผลจะแสดงเครื่องหมายคำถาม เพื่อป้อนข้อมูลที่ต้องการต่อท้ายเครื่องหมายคำถาม
1.2 คำสั่ง PRINT เป็นคำสั่งในภาษาเบสิก เพื่อแสดงผลของข้อมูลที่โปรแกรมสั่งให้ทำงานออกทางจอภาพ
1.3 คำสั่ง LPRINT เป็นคำสั่งในภาษาเบสิก ที่แสดงผลของข้อมูลที่โปรแกรมสั่งออกทางเครื่องพิมพ์

2. คำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดค่าให้กับตัวแปรและการตั้งสมการคำนวณ
2.1 คำสั่ง LET เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดค่าคงที่ให้กับ ไม่ว่าเป็นตัวแปรแบบอักขระหรือตัวแปรแบบตัวเลข และใช้ตั้งสมการทางคณิตศาสตร์
3. คำสั่งในการคำนวณ
ลักษณะของคำสั่งประเภทนี้จะอยู่ในรูปของเครื่องหมาย แสดงแทนเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ จะใช้ประกอบกับคำสั่งประเภทอื่น ๆ

4. คำสั่งสำหรับการควบคุม

ลักษณะของคำสั่งในการควบคุม เป็นการสั่งในแบบกำหนดเงื่อนไข และแบบไม่มีเงื่อนไขรวมถึงคำสั่งควบคุมการวนซ้ำ
4.1 คำสั่งแบบมีเงื่อนไข ได้แก่ IF/THEN/ELSE DO..LOOP WHILE..WEND
4.2 คำสั่งแบบไม่มีเงื่อนไข ได้แก่ GO,GOSUB1.3 คำสั่งควบคุมการวนซ้ำ คือ คำสั่งที่ควบคุมการกระทำซ้ำ ได้แก่ FOR/NEXT
5. คำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบ
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดการวางรูปแบบของการแสดงผลโปรแกรม บางครั้งก็จะอยู่ในรูปเครื่องหมาย ใช้ร่วมกับคำสั่งทั่วไป
6. คำสั่งฟังก์ชัน
เป็นกลุ่มคำสั่งประเภทหนุ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ โดยคำสั่งประเภทนี้จะมีค่าฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
7. คำสั่งทั่วไป
NEW เป็นคำสั่งลบโปรแกรมและค่าตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำ โดยจะลบหล้าจอทั้งหมดก่อนที่จะเขียนโปรแกรมใหม่
REM เป็นคำสั่งที่ใช้ในการหมายเหตุ
END เป็นคำสั่งให้หยุดการทำงานของโปรแกรม
CLS เป็นคำสั่งให้ลบหน้าจอใหม่ โดยไม่แสดงผลเดิม


กิจกรรมประกอบการเรียน

1. ให้นักเรียนศึกษารวบรวมคำสั่งประเภทต่าง ๆ สำหรับโปรแกรม BASIC ตั้งแต่ A – Z โดยดูจากเมนูหลัก HELP ในเมนูย่อย CONTENT จากนั้นบอกว่าเป็นคำสั่งในกลุ่มใด ได้แก่
1.1 STATEMENT
1.2 FUNCTION
1.3 KEYWORD
1.4 OPERATION
1.5 MATACOMMAND
2. ให้นักเรียนแยกประเภทของคำสั่งเฉพาะกลุ่มที่เป็น FUNCTION และกลุ่มที่เป็น STATEMENT
3. ให้นักเรียนเข้าไปยัง HELP ของ BASIC เข้าไปยัง CONTENT จากนั้นเลื่อน CURSOR

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น